Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

WikiSource สามก๊ก

วิกิซอร์ซ (wikisource) เป็นห้องสมุดออนไลน์ซึ่งรวบรวมสิ่งตีพิมพ์ งานเขียน และบทความที่อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดลง และกลายเป็นสาธารณสมบัติ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเก็บรวบรวม และบำรุงรักษาโดยสมาชิกของทางวิกิซอร์ซเอง ซึ่งในปัจจุบันวิกิซอร์ซมีสิ่งตีพิมพ์ในเนื้อหาภาษาไทยอยู่หลายชิ้น และหนึ่งในนั้นคือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
WikiSource สามก๊ก

     วิกิซอร์ซ (wikisource) เป็นห้องสมุดออนไลน์ซึ่งรวบรวมสิ่งตีพิมพ์ งานเขียน และบทความที่อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดลง และกลายเป็นสาธารณสมบัติ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเก็บรวบรวม และบำรุงรักษาโดยสมาชิกของทางวิกิซอร์ซเอง ซึ่งในปัจจุบันวิกิซอร์ซมีสิ่งตีพิมพ์ในเนื้อหาภาษาไทยอยู่หลายชิ้น และหนึ่งในนั้นคือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"

หนังสือสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

     ข้อมูลใน "สามก๊ก-วิกิซอร์ซ" ระบุว่า "เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2347 อายุคุ้มครองลิขสิทธิ์ในจึงสิ้นลงเมื่อ พ.ศ. 2397 อันเป็นเวลาห้าสิบปีหลังอสัญกรรม" จึงนับว่าผลงานของท่านเป็นสาธารณสมบัติ เพราะการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดอายุลงแล้ว ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งว่า

" มาตรา 19 "
  • ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 22 ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย 
  • ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย 
  • ถ้าผู้สร้างสรรค์ หรือผู้สร้างสรรค์ร่วม ทุกคนถึงแก่ความตาย ก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก 
  • ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก 
"มาตรา 20"
  • งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก 
  • ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นำมาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
    ใน "สามก๊ก-วิกิซอร์ซ" เท่าที่ผมได้ลองสำรวจดูนั้น ขณะนี้มีผู้เสียสละนั่งพิมพ์ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไว้แล้วเรียบร้อยแล้ว 7 ตอน ซึ่งก็ยังนับว่าค่อนข้างน้อยเพราะ สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีจำนวนทั้งสิ้น 87 ตอน แต่กระนั้นก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะในอนาคต คนไทยทุกคนจะมีสิทธิ์ ในวรรณกรรมเอกเรื่องนี้อย่างเต็มที่

     นักอ่านสามก๊กท่านใด มีไฟล์หนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) และต้องการช่วยเหลือ วิกิซอร์ซ ซึ่งเป็นมูลนิธิ ๆ หนึ่งในเครือข่ายของ วิกิพีเดีย ในการรวบรวมบทความให้ครบถ้วน ก็สามารถสมัครเข้าไปใช้และบันทึกเนื้อหาของสามก๊กไว้ได้

     นอกจากนี้ ในวิกิซอร์ซ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในหน้าหนังสือที่เราสนใจ จะสามารถสั่งพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือดาว์นโหลดไฟล์ PDF มาเก็บไว้อ่านภายหลังในลักษณะของ Ebook ได้อีกด้วย

ไฟล์ PDF ในวิกิซอร์ซ
ในวิกิซอร์ซ อนุญาตให้บันทึกไฟล์ในรูปแบบ PDF ได้เลย

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเพิ่มเติม

     สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms , 三國演義 , Sānguó yǎnyì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน ประพันธ์โดย หลัว กวั้นจง (羅貫中 , Luó Guànzhōng) 

     สามก๊กฉบับภาษาไทย แปลและเรียบเรียงเป็นครั้งแรกโดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย

กวนอูขี่ม้าเซ๊กเธาวน์

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: WikiSource สามก๊ก
WikiSource สามก๊ก
วิกิซอร์ซ (wikisource) เป็นห้องสมุดออนไลน์ซึ่งรวบรวมสิ่งตีพิมพ์ งานเขียน และบทความที่อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดลง และกลายเป็นสาธารณสมบัติ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเก็บรวบรวม และบำรุงรักษาโดยสมาชิกของทางวิกิซอร์ซเอง ซึ่งในปัจจุบันวิกิซอร์ซมีสิ่งตีพิมพ์ในเนื้อหาภาษาไทยอยู่หลายชิ้น และหนึ่งในนั้นคือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEii6xcD65Qx3ZCtgATC5s7cm4vxrMSe9ijZ94Fsn4T2L7ZGZpJDQpkBBzbAK4MEATE5ba_ktruUXKCNx_gdAWTEGclmStmV8UmvGSUjLHA7Zdc87RqZpHBEo4jowzmC5ZRpK_mwoJ0pbyIx/s1600/WikiSource-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEii6xcD65Qx3ZCtgATC5s7cm4vxrMSe9ijZ94Fsn4T2L7ZGZpJDQpkBBzbAK4MEATE5ba_ktruUXKCNx_gdAWTEGclmStmV8UmvGSUjLHA7Zdc87RqZpHBEo4jowzmC5ZRpK_mwoJ0pbyIx/s72-c/WikiSource-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2012/11/WikiSource-Samkok.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2012/11/WikiSource-Samkok.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ